[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอละแม

( กศน.อำเภอละแม )

ปรัชญาสถานศึกษา :

พหุสสุโต สุขํเสติ ( คุณธรรม นำการศึกษา พัฒนาชีวิต )

วิสัยทัศน์ :

         ภายในปี พ.ศ.2557 ชาวอำเภอละแม ต้องได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ที่มีคุณภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ คู่คุณธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีอาชีพอย่างยั่งยืน

อัตลักษณ์ กศน.อำเภอละแม :

ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต มีจิตสาธารณะ

เอกลักษณ์ กศน.อำเภอละแม :

แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มากมายบริการ

พันธกิจ :

1. สร้างเสริมความใฝ่ฝันทะยานอยากในการเรียนรู้และทักษะการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ให้สามารถเรียนรู้ได้จากสื่อเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
2. สร้างและกระจายโอกาสการเรียนรู้โดยกระจายแหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนให้สามารถสร้างรายได้ สร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน
4. สร้างความเข้มแข็งของภาคีเครื่อข่ายในร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นกลไกในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประชาชน เพื่อให้มีคุณธรรมนำ ความรู้และมีทักษะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ประวัติ :

         ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอละแมหรือศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอละแมเดิมใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของห้องสมุดประชาชนอำเภอละแม ในการปฏิบัติงาน โดยการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนอำเภอละแม ริเริ่มโดยนายวิรัช เอื้ออารี เป็นผู้เสนอโครงการต่อนายไมตรี ปาณะดิษ นายอำเภอละแมในขณะนั้น และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 234.2 ธันวาคม 2537 โดยใช้ชื่อว่า “ห้องสมุดประชาชนอำเภอละแม” ซึ่งใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของอาคารศาลาประชาคมอำเภอละแมเป็นที่ทำการชั่วคราว (ตอนแรกจะให้ใช้อาคารห้องแถวบริเวณด้านหน้าที่ว่าการอำเภอละแม) และต่อมานายวิรัช เอื้ออารี ได้ทำการก่อสร้างตามแบบของกรมการศึกษานอกโรงเรียนบนเนื้อที่ราชพัสดุของอำเภอประมาณ 774 ตารางเมตร หรือประมาณ 2 งาน แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
         ในปี 2537 นายรังสิทธิ์ พรมวัง หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหลังสวน ได้รับคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอละแมได้เสนอของบประมาณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อจัดสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอละแมให้แล้วเสร็จ โดยกำหนดก่อสร้างต่อบนที่ดินเดิม
         ประมาณ ปี 2538 กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอละแม ตามแบบแปลนมาตรฐานของกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยก่อสร้างบนพื้นที่เดิมบริเวณที่ว่าการอำเภอละแม ถนนราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 9 อำเภอละแม ซึ่งจังหวัดชุมพรได้มีประกาศจัดตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยมีนายสามารถ ศุภวิมุติ เป็นหัวหน้าศูนย์ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอละแมในขณะนั้น ต่อมานายสมศักดิ์ ชัยขวัญ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ฯ และได้ย้ายสำนักงานออกไปเช่าตึกแถวอยู่ในช่วงปี 2545 ณ อาคารเลขที่ 37 ม.7 ตำบลละแม อำเภอละแมและปลายปี 2545 นายอุชุ เชื้อบ่อคา เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอละแม และได้ย้ายสำนักงานออกไปใช้ที่ทำการสถานทีตำรวจภูธร อำเภอละแม (เก่า) ตั้งอยู่บนถนนเทศบาล 7 อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 2 งาน
         มิถุนายน 2548 นายรังสิทธิ์ พรมวัง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหลังสวนได้โยกย้ายสับเปลี่ยนกับ นายอุชุ เชื้อบ่อคา และดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอละแม
         ปัจจุบัน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอละแม ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอละแม และได้ย้ายอาคารที่ทำการมาอยู่ที่อาคารที่ว่าการอำเภอ (หลังเก่า) ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการอำเภอละแม ถ.ราษฎร์พัฒนา ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร

ทำเนียบผู้บริหาร :

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

1.

นายรังสิทธิ์ พรมวัง

รักษาการในตำแหน่ง

ปี 2537 – 2538

2.

นายสามารถ ศุภวิมุติ

ดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่ปี 2537-2539

3.

นายสมศักดิ์ ชัยขวัญ

ดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่ปี 2539-2545

4.

นายอุชุ เชื้อบ่อคา

ดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่ปี 2545-2548

5.

นายรังสิทธิ์ พรมวัง

ดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่ปี 2548-2559

6.

นางปัณฑรี พรมเสนะ

ดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่ 2559- ปัจจุบัน

บริบท :

         อำเภอละแม เป็นอำเภอตอนใต้สุดของจังหวัดชุมพร นับเป็นอำเภอขนาดกลาง ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอ เป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2514 และมีความเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และปริมาณประชากรเพิ่มขึ้นตามลำดับ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ ทำนา ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และทำการประมง

ประชากร :

         ประชากร ในอำเภอละแมมีความหลากหลาย ทั้งชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีน นอกจากนี้ยังมีชาวยุโรปบางส่วนที่มาตั้งถิ่นฐานทำไร่ ประชากรที่อยู่ในท้องถิ่นเดิมมีอยู่เป็นส่วนน้อย

ที่ตั้ง :

         อำเภอละแมอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองชุมพรประมาณ 90 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ติดกับอำเภอต่างๆ ดังนี้
ด้านใต้ ติดกับอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ด้านตะวันตก ติดกับอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ด้านเหนือ ติดกับอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ด้านตะวันออก ติดกับชายฝั่งอ่าวไทยโดยตลอด

ภูมิประเทศ :

         อำเภอ ละแมอยู่ในบริเวณที่ราบ พื้นที่ทางตะวันตกเป็นภูเขาและที่สูง ทางด้านตะวันออกเป็นชายฝั่งทะเล มีหาดทรายกว้างและยาว โดยมีสายน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำละแม และคลองบ้านดวด เป็นสายน้ำสั้นๆ ที่ไหลลงสู่ทะเล ทางด้านตะวันออกมีเนินเขาเล็กๆ บ้างเล็กน้อย พื้นที่ลุ่มหลายแห่งเคยเป็นที่นา แต่ปัจจุบันกลายเป็นสวน และที่รกร้าง เนื่องจากการทำนาให้ผลผลิตน้อยไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย

คำขวัญอำเภอ :

หาดทรายสวยทะเลใส ท่องไพรน้ำตกจำปูน
ศูนย์ผลิตภัณฑ์กล้วยหอมทอง ลองอาบน้ำแร่
แลถ้ำเขาพลู ดูแข่งเรือใบโบราณ แหล่งวิทยาการแม่โจ้

การแบ่งเขตการปกครอง :

แผนที่

อำเภอละแม แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 47 หมู่บ้าน
1. ตำบลละแม
2. ตำบลทุ่งหลวง
3. ตำบลสวนแตง
4. ตำบลทุ่งคาวัด

สถานศึกษา :

         สถานศึกษาในอำเภอละแม มีโรงเรียนประถมศึกษาในบริเวณชุมชนหลักๆ ของแต่ละตำบล และมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนละแมวิทยา และมีศูนย์ฝึกทางการเกษตร ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ตำบลละแม บริเวณใกล้ชายทะเลบ้านแหลมสันติ และมีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอละแม เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน.เพียงแห่งเดียวที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาแก่ประชาชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาของสถานศึกษาข้างต้นทั้งหมด

สถานที่ท่องเที่ยว :

         อำเภอ ละแมมีสถานที่ท่องเที่ยวขนาดเล็ก มีชายหาดที่มีหาดทรายสวยงาม ผู้คนไม่แออัด ไม่มีการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวในหนังสือท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เว้นแต่ในหนังสือแนะนำจังหวัดชุมพรบางเล่ม สถานที่ควรแวะชม มีดังนี้
1. บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู ม.2 ต.สวนแตง
2. หาดตะวันฉาย, ปากน้ำละแม และชายทะเลบ้านแหลมสันติ ต.ละแม

สถานพยาบาล :

         นอกจากสถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 6 แห่งแล้ว ในอำเภอละแมยังมีโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง คือ โรงพยาบาลละแม ที่ให้บริการประชาชนทั้งอำเภอ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลละแม

เส้นทางคมนาคม :

         อำเภอละแมมีเส้นทางคมนาคมหลักดังนี้
1. ถนน สายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41) เชื่อมต่ออำเภอละแมกับอำเภอใกล้เคียง นั่นคือ อำเภอหลังสวน และอำเภอท่าชนะ อยู่ทางตะวันตกของตัวเมือง เป็นเส้นทางรถยนต์สายหลัก รถประจำทางสายใต้วิ่งผ่านเส้นทางนี้
2. ทางหลวงหมายเลข 4112 เป็นเส้นทางสายรอง ขนาดเล็ก มีผู้คนใช้สัญจรน้อย ตัดผ่านพื้นที่ทางตะวันออกของตัวเมือง
3. ทางรถไฟสายใต้ โดยมีสถานีรถไฟละแม อยู่ในเขตเทศบาลตำบลละแม
4. การ เดินทางไปยังอำเภอใกล้เคียง มีรถโดยสายประจำทางขนาดเล็ก (กระบะสองแถว) ส่วนการเดินทางไปยังจังหวัดอื่น สามารถโดยสายรถไฟ รถตู้ และโดยสารประจำทางขนาดใหญ่ ที่ท่ารถโดยสาร บริเวณแยกทุ่งสวรรค์ (ละแมเมืองใหม่)





 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอละแม
  ตำบลละแม  อำเภอละแม จังหวัดชุมพร  โทรศัพท์ 0-7755-9427  โทรสาร 0-7755-9411

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.03