กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมือง เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2537 ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน มาเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชุมพร หรือที่ทุกท่านรู้จักกันในชื่อ กศน.อำเภอเมืองชุมพร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551
ปัจจุบัน กศน.อำเภอเมืองชุมพร ตั้งอยู่ที่ ม.9 บ้านวังทอง ต.วังไผ่ อ.เมือง จ.ชุมพร มีหน้าที่ดูแล สนับสนุน และรับผิดชอบ กศน.ตำบล ทุกแห่งในอำเภอเมืองชุมพร โดยมี นายธนสัก ชัยขวัญ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองชุมพร และยังประกอบไปด้วย บุคลากรที่รับผิดชอบงานฝ่ายต่าง ๆ ของ กศน.อำเภอเมือง ดังนี้
นางเครือฟ้า ศิริพันธ์ หัวหน้ากลุ่มอำนวยการ
ม.ล.สันติสุข กฤดากร หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ
นางสาวเบ็ญจมาศ เพ็ชร์พิรุณ หัวหน้ากลุ่มจัดการศึกษานอกระบบและภาคีเครือข่าย
นางสาวบุณฑริก หนูยิ้มซ้าย หัวหน้ากลุ่มจัดการศึกษาตามอัธยาศัยและกิจการพิเศษ
นอกจากนี้ คณะครู อาสาสมัคร กศน.อำเภอเมืองชุมพร ประกอบไปด้วย
อ.ประดิษฐ แสงสุริย์ รับผิดชอบงานส่งเสริมการรู้หนังสืองานการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ(งานเทียบโอนการศึกษา)
อ.จารุนันท์ พุทธิพงษ์ รับผิดชอบงานการศึกษาต่อเนื่อง
อ.วนิดา จิตอักษร รับผิดชอบงานการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ(งานทะเบียนนักศึกษา)
อ.เจมจิรา จิตจง รับผิดชอบงานธุรการสารบรรณ ช่วยงานพัสดุ และเลขานุการกลุ่มอำนวยการ
สืบเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) โดยมุ่งหวังให้ กศน.ตำบล เป็นกลไกในการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน เพื่อสนองแนวทางดังกล่าว สำนักงาน กศน. จึงได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปี พ.ศ. 2554 โดยมีนโยบายสำคัญ ในการ “เร่งสร้าง และพัฒนา กศน.ตำบล ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน” ซึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว สู่การปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น นับเป็นภารกิจหลักของกศน.ตำบล
หลักการทำงานของ กศน.ตำบล นั้น จะยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน สังคมเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรม กศน.ตำบล ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน มีคณะกรรมการ กศน.ตำบล ที่เป็นคนในชุมชน ให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตามดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล
|